เราไม่ทิ้งกัน ลงทะเบียนเยียวยาจาก COVID-19 รับเงิน 5,000 บาท เริ่ม 28 มีนาคม 2563 นี้ !
- เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
- เริ่มลงทะเบียนได้ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคมนี้เป็นต้นไป เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหมดรับลงทะเบียน
- ผู้ที่ลงทะเบียนต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่ลงทะเบียนควรใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ เพื่อจะได้รับผลการลงทะเบียนและสิทธิตามมาตรการผ่านทาง SMS
- ช่องทางการรับเงินนั้นมี 2 ช่องทางได้แก่
– พร้อมเพย์ (เฉพาะเบอร์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)
หากไม่ได้กับเลขบัตรประชาชนสามารถเข้าไปดำเนินการได้ผ่านตู้ ATM หรือ Mobile Application
– รับเงินผ่านทางบัญชีธนาคารได้ทุกธนาคาร
- หากลงทะเบียนแล้วระบบจะทำการตรวจสอบคุณสมบัติว่าเข้าเกณฑ์ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดหรือไม่ และจะดำเนินการจ่ายเงินจำนวน 5,000 บาท ภายใน 7 วันทำการ
- ทั้งนี้ การลงทะเบียนเพื่อขอรับเงิน 5,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com จะไม่จำกัดโควต้า 3 ล้านคนอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะหากผู้ลงทะเบียนผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติว่ามีจำนวนมากกว่า 3 ล้านคน กระทรวงการคลังก็พร้อมที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมต่อไป
- หากไม่สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ขอความร่วมมือให้ขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้ชิดในการช่วยลงทะเบียนออนไลน์ได้ ทั้งนี้
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ Call Center ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หมายเลขโทรศัพท์ 02-111-1144
วันที่ 24 มี.ค. 63 เวลา 14.00 น. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชน ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด
ว่าถึงวันนี้สถานการณ์ไปสู่จุดที่กระทรวงการคลัง ต้องมีมาตรการดูแลเยียวยาประชาชนเพราะมีบางส่วนเริ่มตกงาน เพื่อให้ทันการณ์ จึงมีมาตรการที่เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
กลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
1.เพิ่มสภาพคล่องให้เงินเดือนละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้ในส่วนสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน
2.มีสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน
3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน แต่ต้องมีหลักประกัน
4.โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้เย อัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน
5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็น ส.ค. 2563
6.เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็นเวลา 25,000 บาท
7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรการแพทย์
8.ฝึกอบรมมีเงินใช้ รวมทั้งนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19
1.สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย3% 2 ปีแรก
2.ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ
4.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ
5.ยืดภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำมัน
6.ยกเว้นอากรขาเข้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด
7. ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้เจ้าหน้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.63-31 ธ.ค.64 เพื่อไม่ต้องไปยึดรถ
ทางทวิตเตอร์ได้ที่
Follow @ratchakarnjobs