กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เตรียมจ้างงาน 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จำนวน 60,000 คน ทุกจังหวัด ทุกตำบล ทั่วประเทศ
- เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
- จัดงานเปิดตัวโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
- โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
- เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับทุกฝ่าย เพราะเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
- สังคมของประเทศที่จะมีคนว่างงานจำนวนมากจากภาวะเศรษฐกิจอ่อนตัวจากสถานการณ์โควิด – 19 โดยจะมีการจ้างงาน นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชน จำนวน 6 หมื่นคน
- เพื่อไปทำงานร่วมกับชุมชน จำนวน 3000 ตำบลทั่วประเทศ คนที่ได้รับการจ้างงาน 6 หมื่นคนคือความหวังของครอบครัว และครอบครัวจะดีใจที่ลูกหลานได้งานทำซึ่งย่อมจะช่วยเยียวยารายได้ของครอบครัวได้ อย่างน้อย 1 ปี
- และ ที่สำคัญมีเรื่องที่น่ายินดียิ่งขึ้นอีก คือ อว.กำลังทำโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
- โดยจะมีการจ้างงานอีก 4,900 ตำบล ครบทุกตำบลจะมีงานทำ ซึ่งนิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชน จะได้งานทำถึง 150,000 คน
- รมว.อว.กล่าวต่อว่า ปัญหาการว่างงานสำคัญมากสำหรับประเทศ และนิสิตนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วไม่มีงานทำถือเป็นเรื่องใหญ่ นี่คือปัญหาที่รัฐบาลห่วงใยมากกว่าปัญหาที่นิสิตนักศึกษาออกมาชุมนุมทางการเมือง รัฐบาลได้จัดสรรเงินมาช่วยแก้การว่างงานของนิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมทั้งจะพัฒนาทักษะใน 4 ด้าน ได้แก่ ดิจิทัล การเงิน สังคมและภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับทักษะเฉพาะด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในพื้นที่
- “แต่สิ่งที่ ผมอยากจะฝากคือ ในช่วงเวลา 1 ปี นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชน จำนวน 6 หมื่นคน มาทำงานกับ อว.คือ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเหล่านั้นมองเห็นประเทศไทยในเชิงบวก ไม่มองแต่เชิงลบ แน่นอนปัญหาต่างๆของประเทศมีอยู่ ไม่ปฎิเสธแต่ก็ต้องมองปัญหาที่มีอยู่เพื่อแก้ไขในทางที่สร้างสรรค์และก็ต้องมองปัญหาในเชิงบวกด้วย ประเทศถึงจะเดินหน้าได้” ศ.(พิเศษ)
- ดร.เอนกฯ กล่าวและขยายความว่า สรุปแล้วโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มีเป้าหมาย
- คือ 1. แก้ปัญหาการว่างงาน แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง ยั่งยืน
- 2. ฝึกเด็กให้เป็นนักสำรวจวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ ในการทำข้อมูลชุมชนหรือ Bigdata เพื่อนำไปสู่การพัฒนารายพื้นที่
- 3. ให้นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชน 6 หมื่นคนมีสำนึกของการปฎิบัติให้มากได้เรียนรู้จากการปฎิบัติ เพลิดเพลินกับการปฎิบัติโดยมีทฤษฎีจาก 76 มหาวิทยาลัยที่จะลงไปร่วมทำงานกับคน 6 หมื่นคน ผสมผสานโดยต้องทำให้ 1 ปีของโครงการนี้เหมือนเยาวชนได้เข้าไปอยู่ในตักสิลาแห่งความรู้ของประเทศ.
กดเพื่อดู ที่มา รายละเอียด ต่อ
ทางทวิตเตอร์ได้ที่
Follow @ratchakarnjobs